ประวัติโรงเรียน

การก่อตั้งโรงเรียน

       ♦ โรงเรียนสตรีพัทลุง  มีรากฐานมาจากโรงเรียนประชาบาล  คือ  โรงเรียนโสภณพัทลุงกุลโดยได้จัดตั้งชั้นมัธยมปีละชั้น จนถึงชั้นมัธยมปีที่  4  โดยมี  นายจรัญ  ดิสรา  ครูใหญ่ฝ่ายประชาบาลเป็นผู้ดูแล  และได้เรียนรวมกันเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ.2477 กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้ง นางสาวปริก เด่นดาวเสือ  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่คนแรก การย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.  2482  กระทรวงศึกษาธิการได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  โรงเรียนสตรีพัทลุงหลังแรก  สมัยขุนวิจารณ์จรรยา  เป็นศึกษาธิการจังหวัดพัทลุงงบประมาณก่อสร้าง  จำนวน  6,000  บาท  ลักษณะของอาคารเป็นอาคารไม้สองชั้นไม่ทาสีจำนวน 12 ห้องเรียน  นักเรียนในระดับมัธยมจึงได้ย้ายมาอยู่  ณ  สถานที่แห่งใหม่  คือสถานที่ในปัจจุบันเมื่อวันที่  17  พฤษภาคม  2482  มีนักเรียนหญิงทั้งสิ้น70 คน  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน  6  ห้องเรียน (ปัจจุบันอาคารเรียน1  หมดสภาพการใช้งานและได้รื้อถอนแล้วเมื่อ  เดือนธันวาคม  พ.ศ.  2529) หลังจากนั้นโรงเรียนสตรีพัทลุงได้เจริญขึ้นเป็นลำดับจนถึงปัจจุบันอัตรากำลังครูและนักเรียนการเพิ่มอัตรากำลังครูและปริมาณนักเรียนนับตั้งแต่โรงเรียนได้ก่อตั้งในปี  พ.ศ.  2477  เป็นต้นมา  โรงเรียนได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งในระยะแรกรับเฉพาะนักเรียนหญิงต่อมาปีการศึกษา  2505 
        ♦ เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในแผนกอักษรศาสตร์และเริ่มรับนักเรียนชายเข้าเรียนเป็นครั้งแรก

ประวัติโรงเรียนสตรีพัทลุง

      ♦  โรงเรียนสตรีพัทลุง  มีรากฐานมาจากโรงเรียนประชาบาล  คือ  โรงเรียนโสภณพัทลุงกุลโดยได้จัดตั้งชั้นมัธยมปีละชั้น จนถึงชั้นมัธยมปีที่  4  โดยมี  นายจรัญ  ดิสรา  ครูใหญ่ฝ่ายประชาบาลเป็นผู้ดูแล  และได้เรียนรวมกันเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ.2477 กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้ง นางสาวปริก เด่นดาวเสือ  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่คนแรกการย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียน
เมื่อ พ.ศ.  2482  กระทรวงศึกษาธิการได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  โรงเรียนสตรีพัทลุงหลังแรก  สมัยขุนวิจารณ์จรรยา  เป็นศึกษาธิการจังหวัดพัทลุงงบประมาณก่อสร้าง  จำนวน  6,000  บาท  ลักษณะของอาคารเป็นอาคารไม้สองชั้นไม่ทาสีจำนวน 12 ห้องเรียน  นักเรียนในระดับมัธยมจึงได้ย้ายมาอยู่  ณ  สถานที่แห่งใหม่  คือสถานที่ในปัจจุบันเมื่อวันที่  17  พฤษภาคม  2482  มีนักเรียนหญิงทั้งสิ้น 70 คน  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน  6  ห้องเรียน (ปัจจุบันอาคารเรียน1  หมดสภาพการใช้งานและได้รื้อถอนแล้วเมื่อ  เดือนธันวาคม  พ.ศ.  2529)
โรงเรียนสตรีพัทลุงได้เจริญขึ้นเป็นลำดับจนถึง  พ.ศ.  2502  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน120,000  บาท  ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่  2  เป็นอาคารไม้ทรงปั้นหยา    2  ชั้น  ใต้ถุนโล่ง  (ปัจจุบันคือ  อาคาร 2  จากมุขกลางไปด้านทิศตะวันออก)  ในปี  พ.ศ. 2504  ได้ต่อเติมอาคารจากมุขกลางไปด้านทิศตะวันตกเป็นอาคารทรงปั้นหยาใต้ถุนโล่ง  ต่อมาปี พ.ศ.  2506  ได้ต่อเติมใต้ถุนก่อผนังกั้นห้องเป็นสำนักงานและห้องเรียนอีก  4  ห้องเรียน  งบประมาณ  1,105,200  บาท  (ปัจจุบันคือ  อาคารเรียน  2)
พ.ศ.  2509  ได้สร้างหอประชุมและโรงอาหารจำนวน  1  หลัง
พ.ศ.  2514  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318ก.  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  2,100,000  บาท  ก่อสร้างเสร็จ  เปิดใช้เมื่อ      พ.ศ. 2516  (ปัจจุบันคืออาคารเรียน  3 )  และในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูอีก  2  หลัง  งบประมาณจำนวน  100,000  บาท
   พ.ศ.  2519  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุมแบบ  005  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  900,000  บาท  และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  318ก.  ครึ่งหลัง  งบประมาณจำนวน  1,500,000  บาท(ปัจจุบันคืออาคารเรียน  4 ) 
พ.ศ.  2520  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  310 ก  เพิ่มเติมอีกครึ่งหลัง  งบประมาณจำนวน  1,500,000  บาทก่อสร้างเสร็จเปิดใช้เมื่อวันที่  12  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.  2521
พ.ศ.  2521  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  318 ก. อีกหนึ่งหลัง  งบประมาณจำนวน  3,200,000  บาท  (ปัจจุบันคืออาคารเรียน  5)  ก่อสร้างเสร็จเปิดใช้เมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.  2522  และในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูอีก  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  100,000  บาท
พ.ศ.  2526  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  318 ค. จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  5,000,000  บาท  (ปัจจุบันคืออาคารเรียน  6)  ก่อสร้างเสร็จเปิดใช้เมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2527 และในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณซ่อมแซมและทาสีอาคาร 2 งบประมาณจำนวน 270,000  บาท
พ.ศ.  2529  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ  306 ล/27  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  3,120,000  บาท  โดยสร้างขึ้นในพื้นที่อาคารเรียน  1  ซึ่งหมดสภาพการใช้งานและได้รื้อถอนออกไป  (ปัจจุบันคือ  อาคารเรียน  1)
พ.ศ.  2533  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุม-โรงอาหารแบบ  101ล/27  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  6,261,000  บาท
พ.ศ.  2534  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ  ห้องส้วม  แบบ  6  ที่/27  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  155,500  บาท
พ.ศ.  2535  โรงเรียนได้รับงบประมาณซ่อมแซมและทาสีอาคาร 318 ก.  (อาคาร  3)  งบประมาณจำนวน  235,000  บาท
พ.ศ.  2536  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ  ห้องส้วม  แบบ  6  ที่/27  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  155,000  บาท
พ.ศ.  2539  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวรแบบพิเศษ  5  ชั้น  มีจำนวน  24  ห้องเรียน  มีห้องปฏิบัติการ  4  ห้อง  และมีทางเดินคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อถึงกับอาคารเดิม  4  หลัง  บริเวณชั้น  2  และชั้น  3  สามารถเดินเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งอาคาร  5  พร้อมลิฟท์  2  ชุด  จำนวน  1  หลัง(ปัจจุบันคือ อาคารเรียน  7)  งบประมาณจำนวน  33,450,000  บาทเปิดใช้เมื่อ  เดือนพฤษภาคม  2542
พ.ศ.  2553  โรงเรียนได้จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าเพื่อระดมทุนสร้างอาคารเอนกประสงค์จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน  8,850,753.37  บาทโดยมีที่มาของงบประมาณจากการระดมทุนจำนวน  6,070.753.37  บาท  และได้รับงบประมาณจากสพฐ.  จำนวน  2,780,000  บาท  เปิดใช้เมื่อวันที่  25  เดือนสิงหาคม  2553
นอกจากอาคารเรียนดังกล่าวแล้ว  โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและอาคารเรียนประกอบอื่นๆ  เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนนักเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งต้องอาศัยทักษะในการฝึกปฏิบัติ  ดังนี้
อาคารเรียนชั่วคราว 1 จำนวน 3 ห้องเรียน ก่อสร้างด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ขณะนี้รื้อถอนไปแล้ว)
พ.ศ.  2520  ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว  2  จำนวน  3  ห้องเรียนโดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ  จำนวน  106,000  บาท  (ขณะนี้รื้อถอนไปแล้ว  เพื่อใช้พื้นที่สร้างอาคารหอประชุม-โรงอาหาร  แบบ  101ล/27)
ส่วนอาคารแบบอื่นๆ  โรงเรียนได้ดำเนินการจัดสร้างเป็นระยะ  ดังนี้
พ.ศ.  2509  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคหกรรมศิลป์  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน 70,000  บาท  ใช้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติวิชาอาหารและโภชนาการ
พ.ศ.  2517  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรมศิลป์  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจำนวน 120,000  บาท  ใช้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติวิชาตัดเย็บเสื้อผ้าและดอกไม้ใบตอง  และอาคารเกษตรกรรม  จำนวน  1  หลัง  งบประมาณจากเงินบำรุงการศึกษา  ใช้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเกษตรกรรม
นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดสร้างโรงอาหาร  ศาลาประชาสัมพันธ์  ศาลาผักผ่อนและทำกิจกรรมของนักเรียนทั่วบริเวณโรงเรียน  ห้องน้ำห้องส้วมภายนอกอาคารจำนวน  8  หลัง  บ้านพักครูจำนวน  7  หลัง
การเพิ่มอัตรากำลังครูและปริมาณนักเรียนนับตั้งแต่โรงเรียนได้ก่อตั้งในปี  พ.ศ.  2477  เป็นต้นมา  โรงเรียนได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งในระยะแรกรับเฉพาะนักเรียนหญิงต่อมารับนักเรียนชายในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ตามลำดับ  ดังนี้
ปีการศึกษา  2482  จำนวนนักเรียนประมาณ  70  คน  เป็นนักเรียนหญิงทั้งหมด  จำนวน  6  ห้องเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 – 6
ปีการศึกษา  2505  เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในแผนกอักษรศาสตร์และเริ่มรับนักเรียนชายเข้าเรียนเป็นครั้งแรก
ปีการศึกษา  2509  จำนวนนักเรียน  501  คน  นักเรียนชาย  17  คน  นักเรียนหญิง  494  คน  จำนวนครู  27 คน  ชาย  7  คน  หญิง  20  คน  อาสาสมัคร  จำนวน  1  คน
ปีการศึกษา  2510  จำนวนนักเรียน  502  คน  นักเรียนชาย  18  คน  นักเรียนหญิง  494  คน  จำนวนครู  27 คน  ชาย  8  คน  หญิง  19  คน 
ปีการศึกษา  2511  จำนวนนักเรียน  566  คน  จำนวนห้องเรียน  16  ห้อง  โดยมีชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  4  ห้อง  จำนวนครู  28 คน 
ปีการศึกษา  2513  จำนวนนักเรียน 770  คน  จำนวนห้องเรียน  20  ห้อง  จำนวนครู  28 คน  อาสาสมัคร  จำนวน  1  คน
ปีการศึกษา  2518  กรมสามัญศึกษามีนโยบายให้เยาวชนมีที่เรียนมากขึ้นจึงอนุมัติให้โรงเรียนรับนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รอบบ่าย  จำนวน  6  ห้องเรียน  ในปีนี้จึงมีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง  1,936 คน  จำนวน  45  ห้องเรียน    จำนวนครู 79  คน 
ปีการศึกษา  2519  โรงเรียนได้จัดการเรียนเป็น 2 ผลัด  คือ  จัดมัธยมศึกษาปีที่ 1  และมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรียนผลัดเช้า  มัธยมศึกษาปีที่ 2  มัธยมศึกษาปีที่ 4  และ 5  ผลัดบ่าย  ในปีนี้มีนักเรียน 2,619 คน  ครู  อาจารย์  104  คน 
ปีการศึกษา  2520  มีนักเรียน 2,902 คน  จำนวน  68  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  130  คน 
ปีการศึกษา  2521  มีนักเรียน 2 ผลัด  จำนวน 3,130 คน  ครูอาจารย์  157  คน 
ปีการศึกษา  2522  มีนักเรียน 2,682 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  152  คน 
ปีการศึกษา  2523  มีนักเรียน 2,753 คน จำนวน 63 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 154 คน ปฏิบัติการจริง  147  คน 
ปีการศึกษา  2524  มีนักเรียน 2,673 คน  จำนวน  64  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  163  คน 
ปีการศึกษา  2525  มีนักเรียน 2,816 คน  จำนวน 65 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 184 คน ปฏิบัติการจริง  159  คน 
ปีการศึกษา  2526  มีนักเรียน 2,863 คน จำนวน 66 ห้องเรียน  ครูอาจารย์ 162 คน  ปฏิบัติการจริง  160  คน 
ปีการศึกษา  2527  มีนักเรียน 2,853 คน จำนวน 66 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 163 คน ปฏิบัติการจริง  160  คน 
ปีการศึกษา  2528  มีนักเรียน 2,882 คน จำนวน  66  ห้องเรียน  และเริ่มรับนักเรียนชายเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 90 คน ครูอาจารย์  160  คน  ปฏิบัติการจริง  157  คน 
ปีการศึกษา  2529  มีนักเรียน 2,892 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  155  คน 
ปีการศึกษา  2530  มีนักเรียน 2,892 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  151  คน 
ปีการศึกษา  2531  มีนักเรียน 2,855 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  163  คน 
ปีการศึกษา  2532  มีนักเรียน 2,880 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  174  คน 
ปีการศึกษา  2533  มีนักเรียน 2,913 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  178  คน 
ปีการศึกษา  2534  มีนักเรียน 2,940 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  180  คน 
ปีการศึกษา  2535  มีนักเรียน 3,011 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  182  คน 
ปีการศึกษา  2536  มีนักเรียน 3,120 คน  จำนวน  69  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  183  คน 
ปีการศึกษา  2537  มีนักเรียน 3,123 คน  จำนวน  69  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  179  คน 
ปีการศึกษา  2538  มีนักเรียน 3,163 คน  จำนวน  69  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  185  คน 
ปีการศึกษา  2539  มีนักเรียน 3,144 คน  จำนวน  74  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  176  คน 
ปีการศึกษา  2540  มีนักเรียน 3,061 คน  จำนวน  76  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  177  คน 
ปีการศึกษา  2541  มีนักเรียน 3,025 คน  จำนวน  78  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  171  คน 
ปีการศึกษา  2542  เปิดใช้อาคาร “เฉลิมพระเกียรติ 6  รอบพระชนมพรรษา”  ซึ่งได้รับงบประมาณก่อสร้างปีงบประมาณ  2539 – 2541  เป็นเงินทั้งสิ้น  33,450,000 บาท  เป็นตึก 5 ชั้น  จำนวน 24 ห้องเรียน  มีห้องปฏิบัติการ 4 ห้อง  และมีทางเดินคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อถึงกับอาคารเดิม 4 หลัง  บริเวณชั้น 2 และ ชั้น 3  สามารถเดินเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้ง 5 อาคาร  มีนักเรียน 3,127 คน  จำนวน  78  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  170  คน 
ปีการศึกษา  2543  มีนักเรียน 3,068 คน  จำนวน  75  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  165  คน 
ปีการศึกษา  2544  มีนักเรียน 3,023 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  161  คน 
ปีการศึกษา  2545  มีนักเรียน 2,936 คน  จำนวน  71  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  161  คน 
ปีการศึกษา  2546  มีนักเรียน 3,075 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครูอาจารย์  159  คน 
ปีการศึกษา  2547  มีนักเรียน 2,877 คน  จำนวน  70  ห้องเรียน  ครู  161  คน
ปีการศึกษา  2548  มีนักเรียน 2,993 คน  จำนวน  68  ห้องเรียน  ครู  152  คน
ปีการศึกษา  2549  มีนักเรียน 2,864 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครู  152  คน 
โรงเรียนเปิดห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน  เป็นปีแรก
ปีการศึกษา  2550  มีนักเรียน 2,936 คน  จำนวน  66  ห้องเรียน  ครู  155  คน
ปีการศึกษา  2551  มีนักเรียน 3,081 คน  จำนวน  70  ห้องเรียน  ครู  151  คน
โรงเรียนเปิดห้องเรียนพิเศษเด็กดีศรีท้องถิ่นเฉลิมพระเกียรติ  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  โดยในปีการศึกษานี้เริ่มเปิดในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นปีแรก  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรมและรักท้องถิ่น  โดยใช้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการคัดเลือกนักเรียน
ปีการศึกษา  2552  มีนักเรียน 3,324 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  163  คน
ปีการศึกษา  2553  มีนักเรียน 3,369 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  158  คน
โรงเรียนเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นปีแรก
โรงเรียนจัดทำโครงการสร้างอาคาร “เอนกประสงค์” ”  ซึ่งได้รับงบประมาณจากการบริจาค จำนวน 6,070,753.37 บาท และ งบประมาณสนับสนุนจากสพฐ. จำนวน 2,780,000.00 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 8,850,753.37  บาท  เป็นลักษณะโดมหลังคาสูง ได้ทำพิธีส่งมอบอาคารจากนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสตรีพัทลุง โดยมีดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นประธานในการรับมอบ ในวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553
ปีการศึกษา  2554  มีนักเรียน 3,274 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  160  คน
โรงเรียนเปิดห้องเรียนพิเศษ MEPในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นปีแรก
ปีการศึกษา  2555  มีนักเรียน 3,219 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู  174  คน
ปีการศึกษา  2556  มีนักเรียน 3,222 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  171  คน
โรงเรียนเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นปีแรก  และใช้ชื่อห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  แทนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
ปีการศึกษา  2557  มีนักเรียน 3,148 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  157  คน
ปีการศึกษา  2558  มีนักเรียน 3,041 คน  จำนวน  73  ห้องเรียน  ครู  165  คน
โรงเรียนได้ปรับปรุงหอประชุม 2 ชั้นบนเป็นห้องประชุมแบบมาตรฐาน ซึ่งได้รับงบประมาณจากการบริจาค
ปีการศึกษา  2559  มีนักเรียน 2,916 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู 155  คน
โรงเรียนใช้ชื่อห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแทนชื่อห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ปีการศึกษา  2560  มีนักเรียน 2,891 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู  145  คน
สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีพัทลุง ได้ระดมทุนเพื่อสร้างอนุสาวรีย์พระยาโสภณพัทลุงกุล (สว่าง ณ พัทลุง)  ด้านข้างอาคาร 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกในพระคุณของท่านที่มีต่อการศึกษาของโรงเรียนทำพิธีวางศิลาฤกษ์และประดิษฐานในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2560
ปีการศึกษา  2561  มีนักเรียน 2,785 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู  147  คน
ปีการศึกษา  2562  มีนักเรียน 2,737 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู  139  คน
ปีการศึกษา  2563  มีนักเรียน 2,673 คน  จำนวน  72  ห้องเรียน  ครู  141  คน